ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Indian mulberry [3]
Indian mulberry [3]
Morinda citrifolia L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Rubiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia L.
 
  ชื่อไทย ยอ, ยอบ้าน,มะตาเสือ
 
  ชื่อท้องถิ่น - มะต๋าเสือ(คนเมือง) - มะตาเสือ ยอบ้าน (ภาคเหนือ), แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ยอบ้าน (ภาคกลาง), โนนี (ฮาวาย) [3]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงสูง 2-6 เมตร กิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ
ใบ เดี่ยวออกตรงกันข้าม มีหูใบระหว่างโคนก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบมันสีเขียวเข้ม โคนใบและปลายใบแหลม รูปใบรีมน กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
ดอก สีขาวเป็นดอกช่อ ออกตามซอกใบ ฐานรองดอกอัดกันแน่นเป็นทรงกลม ก้านช่อดอกยาว 3-4 ซม. ดอกช่ออัดกันแน่นลักษณะคล้ายตาเสือ ผลเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง
ผล อ่อนสีเขียวสด ผลสุกสีขาวนวล อ่อนนุ่มกลิ่นฉุน เมล็ดสีน้ำตาลเข็ม จำนวนมาก[3]
 
  ใบ ใบ เดี่ยวออกตรงกันข้าม มีหูใบระหว่างโคนก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบมันสีเขียวเข้ม โคนใบและปลายใบแหลม รูปใบรีมน กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
 
  ดอก ดอก สีขาวเป็นดอกช่อ ออกตามซอกใบ ฐานรองดอกอัดกันแน่นเป็นทรงกลม ก้านช่อดอกยาว 3-4 ซม. ดอกช่ออัดกันแน่นลักษณะคล้ายตาเสือ ผลเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง
 
  ผล ผล อ่อนสีเขียวสด ผลสุกสีขาวนวล อ่อนนุ่มกลิ่นฉุน เมล็ดสีน้ำตาลเข็ม จำนวนมาก[3]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้, ใบ ใช้ทำห่อนึ่ง(คนเมือง)
- ผล ฝานเป็นแผ่นตากแห้งใช้ต้มน้ำดื่มรักษาโรคความดันโลหิตสูง(คนเมือง)
- สรรพคุณความเชื่อ
ตำราไทยโบราณเชื่อว่า ยอเป็นพืชกลุ่มรสร้อน แก้อาการมือเท้าไม่มีความรู้สึก เหมาะกับคนที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต แก้หวัด ฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน และมีความเชื่อว่าส่วนที่ได้จากยอมีสรรพคุณดังนี้
ราก เป็นยาระบาย สรรพคุณยาไทยเชื่อว่า รากยอ เป็นยาระบายอ่อนๆ สำหรับคนมีอาการท้องผูกหรือริดสีดวงทวารหนัก จะถ่ายสะดวก ริดสีดวงหายเร็ว อินเดียใช้รากยอเป็นยาถ่าย
เปลือกต้น อินเดียเชื่อว่า เป็นยาฝาดสมาน ใช้ต้มน้ำดื่ม ชาวมาเลเซียต้มดื่มแก้ไข้จับสั่น
ใบ แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้จุดเสียดแน่น ท้ออืดเฟ้อ ท้องผูก ชาวฟิลิปปินส์ ใช้ใบสดรักษาแผลเปื่อย ข้ออักเสบ ชาวอินเดียใช้เป็นยาสมานแผล ยาบำรุงกำลัง ชาวมาเลเซีย ใช้ใบปิ้งไฟให้ร้อนวางบนอกหรือท้อง เพื่อลดอาการไอ ตับไต คลื่นไส้และเป็นไข้ [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินชุ่มชื้น พบได้ทั่วไป นิยมปลูกบริเวณบ้านและสวนทั่วไป
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง